5 หมื่นโรงงานฝ่าวิกฤตต้นทุน ดันส่งออกอาหารโต 13%

ส่งออกอาหารไทยปี’64 ทะลุ 1.2 ล้านล้าน โต 13% สูงสุดรอบ 5 ปี ยืนเป้า “ครัวโลก” คาดปี’65 โตอีก 3-5% ฝ่ามรสุม ต้นทุนพุ่ง ทั้ง “วัตถุดิบ-ค่าคุมโควิด-ค่าระวางเรือ” แถมคู่ค้างัดมาตรการสิ่งแวดล้อมเข้ม หอการค้าฯแนะ “ผู้ผลิตอาหาร” 5 หมื่นราย ปรับตัวต่อยอดนวัตกรรม ดึงเทคโนโลยีมาผลิตแทนคน หวังรัฐช่วยอุ้มรายย่อย 80% ในอีกด้านภาครัฐควรมุ่งขยายความตกลงเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) ส่วนกรอบความตกลง […]

“ประยุทธ์”ส่งสัญญาณ“ซีพีทีพีพี”ดึงลงทุน – สร้างเชื่อมั่นธุรกิจ

คณะรัฐมนตรี (ครม.) ถก “ซีพีทีพีพี” นายกฯส่งสัญญาณร่วมแบบสงวนท่าที ทั้งนี้คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ได้พิจารณาข้อเสนอคณะทำงานที่ตั้งขึ้นและสรุปประเด็นสำคัญเพื่อเตรียมเสนอ ครม.เร็วๆนี้ โดยข้อสรุปต่างๆจะตอบข้อคำถามและข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมซีพีทีพีพีได้ทุกประเด็น และที่จะชี้แจงกับสภาผู้แทรราษฎรในประเด็นต่างๆได้ ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ มีเงื่อนไขส่งมายังรัฐบาลกว่า 100 ข้อ เล็งชงผลศึกษาเข้า ครม.มั่นใจแจงสภาได้ “หอการค้า” ขานรับสัญญาณเข้าร่วมเจรจา เพิ่มแรงบวกดึงนักลงทุนต่างชาติ  รัฐบาลเตรียมพร้อมเจ้าภาพเอเปกปีหน้า ชู 3 ประเด็น “บีซีจี-ฟื้นฟูเศรษฐกิจ-การค้าการลงทุน” ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/965501

จีนเบียดสหรัฐเข้าร่วม CPTPP เร่ง ประยุทธ์ ตัดสินใจก่อนตกขบวน

จีนฉวยภูมิรัฐศาสตร์เข้าร่วมการเจรจา CPTPP หวังยึด 30% GDP โลก ขณะที่รัฐบาลไทยยังไม่ตัดสินใจว่าจะเข้า-ไม่เข้า เป็นที่กังวลของภาคธุรกิจในแง่ที่ว่า ประเทศไทยจะเดินไปในทิศทางใดของระเบียบการเปิดเสรีการค้าโลก ท่ามกลางสถานการณ์ที่ถึงจุดเปลี่ยน ด้านบริษัทที่ปรึกษา “โบลลิเกอร์” แนะต้องรีบฉวยจังหวะใช้ข้อตกลงนี้ “รีฟอร์ม” เศรษฐกิจหลังโควิด หวั่นยิ่งช้ายิ่งตกขบวนตามประเทศคู่แข่งไม่ทัน  ด้านสภาหอการค้าทำแบบประเมินถึงสมาชิกเพื่อหาขอเสนอแนะและกำหนดท่าทีไทยเสนอรัฐบาลต่อไป    ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-765984

รัฐบาลยังไม่อนุมัติไทยเจรจาเข้าร่วม CPTPP

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. วานนี้ (5 พฤษภาคม 2564) ไม่ได้มีการเห็นชอบให้ไทยไปขอเจรจาเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้า สำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP แต่อย่างใด มีเพียงการอนุมัติให้ขยายระยะเวลาเพิ่มเติมอีก 50 วัน เพื่อให้คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) หารือกับภาคส่วนต่างๆ ให้ครอบคลุม ครบถ้วน และรอบคอบมากที่สุด ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/478665