สอท.ชี้ปัจจัยเสี่ยง ขาดแรงงานต่างด้าว8แสนคน

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)เปิดเผยว่า ส.อ.ท.กำลังติดตาม 3 ปัจจัยเสี่ยงต่อภาคการผลิตและเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิดเนื่องจากจะกระทบต่อต้นทุนการผลิตในภาพรวมที่ต้องปรับตัวสูงขึ้นและสะท้อนไปยังราคาสินค้าที่อาจบั่นทอนแรงซื้อประชาชนที่ลดลงได้ ประกอบด้วย 1.ต้นทุนวัตถุดิบทั้งสินค้าโภคภัณฑ์ การเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.แรงงานต่างด้าวขาดแคลนจากผลกระทบของโควิด-19 และ 3.อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่ยังมีแนวโน้มอ่อนค่า ทั้งนี้ยัง ประเมินว่าแรงงานต่างด้าวที่ขาดแคลนรวมจะอยู่ราว 8 แสนคน (ภาคผลิต 3-5 แสนคนและบริการท่องเที่ยวอีก 3 แสนคน)ดังนั้นหากแรงงานเข้ามาไม่ทันกับความต้องการก็จะกระทบต่อธุรกิจได้ กระทรวงแรงงานจำเป็นต้องเร่งนำเข้าแบบถูกกฎหมายเพื่อตอบสนองกับความต้องการของภาคธุรกิจ ที่มา: https://www.naewna.com/business/615128

แรงงานขาดป่วนเศรษฐกิจ ธุรกิจเกี่ยงค่าหัวต่างด้าว 3 หมื่นบาท/หัว

กระทรวงอุตสาหกรรมเปิดเผย วิกฤตแรงงานขาดป่วนเศรษฐกิจ “ภาคอุตสาหกรรม-เกษตร-บริการ-ก่อสร้าง” ขาดแคลนกว่า 8 แสนคน ผู้ผลิตชี้ออร์เดอร์ทั้งในประเทศ-ต่างประเทศทะลัก แต่ไม่มีแรงงานเพียงพอผลิตจากการเปิดประเทศและผ่อนคลายให้หลายธุรกิจกลับมาเปิดกิจการได้ส่งผลให้ความต้องการแรงงานสูงขึ้น โดยเฉพาะภาคบริการ ร้านอาหาร แต่รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานยังไม่เปิดช่องทางให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานโดยถูกกฎหมาย รวมถึงทำ MOU นำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านระหว่างรัฐต่อรัฐ จากปัญหาดังกล่าวในระยะยาวอาจส่งผลกระทบส่งออก ที่มา : https://www.prachachat.net/csr-hr/news-799229

แรงงานขาดกดทับเศรษฐกิจ ชูนำเข้าต่างด้าวถูกกฎหมาย

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯอยู่ที่ระดับ 82.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ 84.3 เทียบกับเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในรอบ 11 เดือน นับตั้งแต่เดือน ก.ค. 2563 โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอก 3 ยังไม่คลี่คลายและยังเกิดคลัสเตอร์ใหม่ๆ โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงกังวลหากเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นแต่แรงงานขาดแคลนกว่า 4 แสนคน […]