เปิดแผนลงทุนคมนาคม 2565 หัวหอกดันเศรษฐกิจ 1.4 ล้านล้าน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงรายละเอียดของแผนลงทุนในปี 2565 โดยระบุว่า ในปี 2565 กระทรวงฯ จะสานต่อนโยบายเดิมที่ต้องดำเนินการต่อเนื่อง พร้อมผลักดันโครงการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งหมด 37 โครงการ วงเงินลงทุน 1.4 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น โครงการลงทุนต่อเนื่อง 13 โครงการ วงเงิน 5.16 แสนล้านบาท และโครงการลงทุนใหม่ 24 โครงการ วงเงิน 9.74 แสนล้านบาท ในส่วนของโครงการลงทุนใหม่ที่กระทรวงฯ […]

วิจัยกรุงศรี ส่องเศรษฐกิจไทย ปี 65 เข้าสู่เส้นทางฟื้นตัว คาดจีดีพีโต 3.7%

ศูนย์วิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเผยว่า การกลับมาแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ระลอกใหม่นับตั้งแต่ปลายปี 2563 และการระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลตาที่แผ่ลามเป็นวงกว้างในไทยช่วงไตรมาสสามของปี 2564 ส่งผลให้หลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจถูกจำกัดภายใต้มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดเป็นเวลาหลายเดือน นอกจากนี้ การระบาดยังกระจายไปสู่ภาคธุรกิจ ทำให้เกิดภาวะชะงักงันในสายการผลิตในบางภาคอุตสาหกรรมและภาคก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีการฉีดวัคซีนมีความคืบหน้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก การระบาดในประเทศคลี่คลายลง มีการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมที่เข้มงวด กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ ส่วนการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่โอมิครอนในช่วงปลายปีกลับมาสร้างความกังวลต่อทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอีกครั้ง โดยภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2564 จึงมีแนวโน้มเติบโตเพียงเล็กน้อยที่ 1.2% จากที่หดตัวรุนแรงในปี 2563 ที่ -6.1% ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/980873

CIMB ไม่ปรับลด GDP ปีหน้า ยกเว้นมี’ล็อกดาวน์’กัดโอมิครอน

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย หรือ CIMB THAI เปิดเผยว่า สำนักวิจัยฯ ยังไม่ได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยจากที่เคยให้ไว้ที่ 3.8% เมื่อปลายเดือนพ.ย. แต่มองว่าการระบาดของสายพันธุ์ใหม่นี้นับเป็นความเสี่ยงสำคัญของเศรษฐกิจไทย ได้ประเมินการเติบโตของ GDP ไทยออกเป็น 3 แนวทาง 1. โอมิครอนไม่ระคาย GDP ไทยปีหน้าโตได้ 3.8% ตามคาด 2.ไม่ล็อกดาวน์แต่กระทบภาคบริการไตรมาสแรก GDP […]

จับตามาตรการลดQE ขึ้นดบ.สกัดภาวะฟองสบู่

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า สัญญาณฟองสบู่แตกแบบวิกฤตการณ์สินเชื่อซับไพร์มอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เนื่องจากฟองสบู่ในตลาดการเงินโลกที่สะสมมาอย่างยาวนานตลอดช่วงเวลาของการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือ QE กระตุ้นเศรษฐกิจ สภาพคล่องล้นเกินเหล่านี้ได้ไหลเข้าสู่ตลาดการเงินมากกว่าภาคการผลิตและภาคเศรษฐกิจจริงมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ตลอดจนการขยายตัวของการลงทุนแบบเก็งกำไรใน “คริปโตเคอร์เรนซี่” และ “สินทรัพย์ดิจิทัล” อาจก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินโลกรุนแรงและเกิดฟองสบู่ตลาดการเงินแตกได้ในช่วงปี 2565-2566 ได้ ทั้งนี้การลด QE และขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศพัฒนาแล้วอาจไม่สามารถหยุดภาวะฟองสบู่ในตลาดการเงินได้ จึงเสนอเก็บภาษีทุนในระดับโลกเพื่อลดความผันผวนและความเสี่ยงฟองสบู่ของตลาดการเงินโลก รวมทั้ง ลดความเหลื่อมล้ำอย่างมหาศาลในระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ที่มา : https://www.naewna.com/business/624785

ธุรกิจแบงก์ปีหน้า ผจญความเสี่ยง กสิกรไทยฟันธง กำไร1.86แสนล้าน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่าความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19 กลับมาอีกครั้งในช่วงรอยต่อระหว่างปี 2564 เข้าสู่ปี 2565 ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนอกจากจะเป็นตัวแปรที่มีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยแล้ว ยังมีนัยต่อเนื่องมายังการดำเนินธุรกิจของธนาคารพาณิชย์(ธพ.)ในปี 2565 หากสามารถควบคุมการระบาดของโอมิครอนได้ดีและทันท่วงที ธนาคารพาณิชย์ก็จะยังคงมีเวลาพลิกฟื้นรายได้จากธุรกิจหลักและผลการดำเนินงานในภาพรวมกลับมาได้ แต่ระดับกำไรสุทธิ และความสามารถในการทำกำไร จะฟื้นตัวในกรอบจำกัด และจะยังอยู่ต่ำกว่าระดับในช่วงก่อนโควิด โดยคาดว่า กำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (ระบบธ.พ. ไทย) ในปี 2565 จะอยู่ที่ราว 1.86 แสนล้านบาทในปี 2565 ต่ำกว่าระดับกำไรสุทธิเฉลี่ยช่วงก่อนโควิดที่ทำได้สูงกว่า 2.00 แสนล้านบาทต่อปี ที่มา: https://www.naewna.com/business/624222

กนง.คงดอกเบี้ย 0.50% จับตาโอมิครอนความเสี่ยงศก.

คณะกรรมการนโยบาย การเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ต่อเนื่องขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นชั่วคราวจากราคาพลังงานเป็นหลัก แต่ยังต้องติดตามพัฒนาการเงินเฟ้อโลกและการส่งผ่านต้นทุน การระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน เป็นความเสี่ยงสำคัญต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า และเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่องจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจจึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 0.9% ในปี 2564 และจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2565 และ 2566 ที่ 3.4% และ 4.7% ตามลำดับ จากการฟื้นตัวของการใช้จ่ายในประเทศและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะทยอยกลับมามากขึ้น การฟื้นตัวในหลายสาขาธุรกิจมีแนวโน้มดีขึ้นสอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่มา […]

ทำงบประมาณแบบขาดดุลกอบกู้เศรษฐกิจและสังคมจากโควิด-19

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง ปีงบประมาณ 2566-2569 โดยรัฐบาลยังต้องดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัว ผ่านการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสังคมจากโควิด-19 ที่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและประชาชนที่มีผลต่อเนื่องถึงภาคการคลัง ทำให้เกิดภาระที่สะสมต่อภาคการคลังของไทย อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้การแพร่ระบาดกลับมารุนแรงได้อีก จนส่งผลกระทบให้ภาครัฐต้องดำเนินมาตรการ เพื่อบรรเทาผลกระทบเพิ่มเติมอีกในอนาคต ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2271380

ทิสโก้แนะจับตา3ปัจจัยเสี่ยง กดดันระบบเศรษฐกิจทั่วโลกในปี’65

นายคมศร ประกอบผล หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ เปิดเผยว่าปัจจัยเสี่ยงที่จะกดดันเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2565 มี 3 ปัจจัย คือ 1.ไวรัส COVID-19 ยังคงระบาดต่อเนื่องและยืดเยื้อ ประเด็นนี้เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเมื่อมีการระบาดของไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน อาจจำเป็นต้องกลับมาประกาศใช้มาตรการ Lockdown ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของโลกและทำให้ปัญหาเงินเฟ้อยืดเยื้อต่อไปอีก 2.เงินเฟ้อทรงตัวในระดับสูงตลอดทั้งปีสาเหตุหลักมาจากปัญหาด้านการผลิตที่ไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ 3.นโยบายการเงินที่เข้มงวด ที่มา: https://www.naewna.com/business/623687

คลังดันศก.สู้โควิด ไม่หวั่น‘โอมิครอน’ป่วน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2565 ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ปรับตัวดีขึ้นและจำนวนผู้ได้รับวัคซีนที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งในส่วนของการใช้จ่ายภายในประเทศและการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐยังคงมีบทบาทสำคัญในการช่วยขับเคลื่อน พร้อมคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ให้ขยายตัวได้ที่ร้อยละ4.0 ต่อปี ขณะที่ วิจัยกรุงศรีคาดว่า เศรษฐกิจยังได้แรงส่งจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายและการตรึงดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำอย่างน้อยจนถึงสิ้นปีหน้า นอกจากครม.ยังพิจารณามาตรการเยียวยาและมาตรการสนับสนุนการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มเติม ที่มา: https://www.naewna.com/business/623717

“บีโอไอ” กระตุ้นลงทุนปี 65 ดันกิจการขนาดใหญ่พลิกฟื้นเศรษฐกิจ

“บอร์ดบีโอไอ” ขยายมาตรการกระตุ้นการลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่จะมีผลในวงกว้างต่อการสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และในอีอีซี จากสิ้นสุดปี 2564 เป็นสิ้นสุดปี 2565 พร้อมอนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุนโครงการใหญ่ รวม 26,000 ล้านบาท เพื่อสร้างความพร้อมด้านพลังงาน พร้อมยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของไทยสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์และยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค เช่น บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด เงินลงทุน 3,656 ล้านบาท ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/economics/2269626