เศรษฐกิจ‘ก.พ.’ขยายตัว ส่งออกหนุน/พบทัวร์ต่างชาติ1.5แสนคน

นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนก.พ. 65 ว่า เศรษฐกิจไทยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะในหมวดสินค้าคงทน การส่งออกสินค้า และภาคการท่องเที่ยว ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวต่อเนื่องจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า การส่งออกสินค้ารวมในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐในเดือนก.พ. 65 อยู่ที่ 23,483 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (+16.2%YoY) โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกไปประเทศคู่ค้าหลักของไทย อาทิ อาเซียน ฮ่องกง เกาหลีใต้ สหรัฐฯ และอินเดีย ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทย จำนวน 152,954 คน โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากรัสเซีย […]

“อาคม” ลั่นกระเป๋าตังค์รัฐยังไหวไม่กู้เพิ่ม

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน และสถานการณ์โควิดที่ยังไม่คลี่คลาย มีผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก จนทำให้หลายฝ่ายเสนอให้รัฐบาลกู้เงินเพิ่มเติมเพื่อนำมาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจนั้น ขณะนี้กระทรวงการคลังยังไม่ได้พิจารณาประเด็นการกู้เงินเพิ่มเติม โดยรัฐบาลได้ออก พ.ร.ก.กู้เงินไปแล้ว 1.5 ล้านล้านบาท ปัจจุบันเงินกู้ยังเหลืออยู่ 70,000 ล้านบาท ด้านนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังเตรียมพร้อมด้านการเงิน เพื่อรองรับกรณีที่มีความจำเป็นอยู่แล้ว โดยที่ผ่านมารัฐบาลได้ขยายกรอบการกู้เงินไว้เพื่อรองรับไว้แล้ว โดยขยายเพดานการก่อหนี้จาก 60% เป็นไม่เกิน 70% ต่อจีดีพี ที่มา : […]

กระทรวงการคลังรับสภาพจ่อปรับลดจีดีพี

จากสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน มีแนวโน้มว่าจะยืดเยื้อ ขณะที่การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้การบริโภค และการใช้จ่ายในประเทศไทยลดลงนั้น ทำให้กระทรวงการคลังจะต้องทบทวนการประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจใหม่อีกครั้ง จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.5-4.5% คาดว่าจะประกาศตัวเลขการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจใหม่ในเดือน เม.ย.2565 ทั้งนี้ การปรับประมาณการทางเศรษฐกิจครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของปี และเป็นไปตามรอบทุกๆเดือนจะมีการทบทวนการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2352426

ลงทุนปีนี้แตะ 1.4 ล้านล้าน รัฐดันเมกะโปรเจกท์ขับเคลื่อนศก.

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่านายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงสร้างขนาดใหญ่ของประเทศ โดยปี 2565 ไทยจะมีโครงการลงทุนทั้งทางบก ทางถนน ทางราง ทางน้ำและทางอากาศ ในวงเงินสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย โครงการที่ได้ลงนามสัญญาแล้ว 516,000 ล้านบาท และโครงการลงทุนใหม่ 974,000 ล้านบาท ด้วยวงเงินการลงทุนที่สูงนี้ มีการคาดการณ์เบื้องต้นว่าจะก่อให้เกิดการจ้างงานประมาณ 154,000 ตำแหน่ง และมีส่วนที่จะต้องจัดหาวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์ รวมทั้งเครื่องจักรและอื่นๆ ราว1.24 ล้านล้านบาท จะทำให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแบบทวีคูณ […]

‘กรุงศรี’ ปรับลด GDP ปีนี้ โตเหลือ 2.8 % พิษน้ำมัน-ศึกยูเครน

ศูนย์จัยกรุงศรีประเมินในกรณีฐานหากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน มีการสู้รบยืดเยื้อไปจนถึงไตรมาส 2/2565 จึงปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยในปีนี้มีแนวโน้มเติบโตชะลอลงเหลือ 2.8% จากเดิมคาด 3.7% โดยปรับลดมูลค่าการส่งออก ขยายตัวอยู่ที่ 2.6% จากเดิมคาด 5% นอกจากนี้ภาพการส่งออกที่อ่อนแอลง ขณะที่ราคานำเข้าที่พุ่งสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะราคาพลังงาน ประกอบกับรายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลง ล่าสุด วิจัยกรุงศรี ปรับลดคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้อยู่ที่ 5.5 ล้านคน จากเดิมคาด7.5 ล้านคน ที่มา: https://www.naewna.com/business/64306

วงล้อเศรษฐกิจ – ซ้ำเติมผู้บริโภค

ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ของโลก (คิดเป็น 28.5% ของปริมาณการส่งออกขอโลก) ดันราคาข้าวสาลีพุ่งสูงสุดในรอบหลายปี ได้ส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์เกษตรโลกให้ปรับตัวพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก จึงมีอิทธิพลต่อการปรับตัวของราคาข้าวสาลีในตลาดโลกอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งส่งผลต่อไทยในแง่ต้นทุนวัตถุดิบของอุตสาหกรรมปลายน้ำที่ใช้ข้าวสาลีเป็นส่วนประกอบอย่างอาหารคน และอาหารสัตว์ ทำให้มีราคาปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น ในปี 2565 ทั้งต้นทุนราคาวัตถุดิบและต้นทุนโลจิสติกส์จะอยู่ในระดับที่สูง รวมถึงราคาอาหารที่เพิ่มขึ้น ซ้ำเติมภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงที่สุดแล้ว จะส่งผลกระทบไปยังราคาอาหารปลายทางที่ต้องจ่ายสูงขึ้นด้วย เช่น เนื้อสัตว์ หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป/ขนมปัง ตามราคาข้าวสาลีและราคาธัญพืชทดแทนที่ปรับเพิ่มขึ้น เป็นต้น ที่มา: https://www.khaosod.co.th/economics/news_6951461

ธปท.จับตาเงินเฟ้อพุ่ง กระทบผู้มีรายได้น้อย ยันเศรษฐกิจไทย ‘แกร่ง’

นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทย ปัจจุบัน ยังเผชิญกับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวเท่าก่อนโควิด โดยมองว่าการฟื้นตัว ไปสู่ระดับนั้นอาจเห็นได้ในปลายปี หรือต้นปีหน้า อีกทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ยังมีความไม่ทั่วถึง ยังเป็นลักษณะ K-Shaped Recovery ดังนั้นในด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ยังคงมีความแตกต่างกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่ง ธปท. ยืนยันไม่จำเป็น ต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ย ตามทิศทางดอกเบี้ยโลก หวังเป็นมาตรการสำคัญดูแลเศรษฐกิจฟื้นตัว ในด้านของเงินเฟ้อพุ่งเป็นปัจจัยชั่วคราว เกิดจากซัพพลายช็อคในต่างประเทศ แต่ผลกระทบยังอยู่ในวงจำกัด ห่วงผู้มีรายได้น้อยลำบาก […]

KKP หั่น GDP เหลือ 3.2% หวั่นราคาน้ำมันสูง กระทบเศรษฐกิจไทยหนัก

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ปรับการคาดการณ์ GDP ปี 2022 ในกรณีฐานเหลือ 3.2% จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 3.9% โดยประเมินว่าความไม่แน่นอนต่อภาพแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อมีสูงขึ้นมาก จากผลกระทบของสถานการณ์ยูเครนและรัสเซีย และปรับประมาณการเงินเฟ้อเฉลี่ยจากที่เคยคาดไว้ที่ 2.3% โดยผลจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนในปัจจุบัน ทำให้ความไม่แน่นอนของแนวโน้มเศรษฐกิจโลกสูงขึ้น และเศรษฐกิจไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเนื่องจากมีการพึ่งพาพลังงานในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/business/993868

สอท.ชงแผนฟื้นเศรษฐกิจ ตรึงพลังงาน-เลิกเทสต์แอนด์โก

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครน เป็นแรงสนับสนุนให้ราคาพลังงานปรับสูงขึ้น โดยแม้จะเริ่มปรับตัวลดลงแต่เป็นประเด็นที่ต้องจับตาใกล้ชิด เพราะราคาพลังงานในประเทศยังมีการปรับขึ้น โดยอาจมีการปรับค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที) ทั้งนี้ ในสถานการณ์ปัจจุบันรัฐอาจต้องสำรองเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท เพื่อรองรับการใช้จ่ายเงินสนับสนุนภาครัฐ และการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป และต้องใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดนอกจากนี้ หากสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศยังเป็นลักษณะนี้ ส.อ.ท.ต้องการเสนอให้เปิดประเทศเร็วที่สุด โดยยกเลิกระบบ Test & Go เพราะหลายประเทศเริ่มไม่สนใจแล้ว ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/993593

KTB ห่วงสงครามยืดเยื้อ กระทบส่งออก-ท่องเที่ยวซ้ำเติมศก.

ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย ประเมินผลกระทบความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนหลักต่อเศรษฐกิจไทยว่า หากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อหนุนให้ราคาน้ำมันเพิ่มสูงเกิน 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต่อเนื่องตลอดทั้งเดือนมีนาคมเพียง 1 เดือน ก่อนที่จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวใกล้เคียงกับมุมมองเดิมที่ 3.8% ทั้งนี้ ผลกระทบต่อการท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากรัสเซียและยุโรปตะวันออกที่อาจเดินทางลำบากมากขึ้น รวมทั้งการอ่อนค่าของเงินรูเบิล ที่จะส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวผลจากวิกฤตเศรษฐกิจรัสเซียและการอ่อนค่าของเงินรูเบิลอย่างรุนแรง ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ที่มา: https://www.naewna.com/business/641185