‘ธปท.’ แย้ม ‘กนง.’ จ่อขึ้นดอกเบี้ย ชี้ศก.ได้พระเอกใหม่หนุนเติบโตต่อ

นายสักกะภพ พันธ์ยานุกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2565 และปี 2566 พระเอกในการช่วยขับเคลื่อนไปต่อคือ การบริโภคของภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว ตามการบริโภคภาคเอกชนและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่วนภาคการส่งออกก็ยังสามารถขยายตัวได้ แต่ชอาจชะลอลงจากปัญหาเงินเฟ้อ และสงครามรัสเซียและยูเครน โดยธปท.ประเมินว่า ส่งออกปี 2565 จะขยายตัว 7.9% แต่ปี 2566 จะขยายตัวลดลงเหลือ 2.1% ตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของหลายประเทศ นโยบายทางการเงิน […]

ปี’65ไทยเที่ยวไทยคึกคัก ทีทีบีคาดเงินสะพัด7.2แสนล้าน

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินว่า ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศจะสูงถึง 188.1 ล้านคน/ครั้ง หรือขยายตัว 161.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 และมีรายได้จากการท่องเที่ยวราว 7.2 แสนล้านบาท หรือ ขยายตัว 228% สะท้อนจากช่วง 4 เดือนแรกของปี 2565 ที่เพิ่มถึง 87.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี […]

ประธาน หอการค้าไทย ชี้ ยังไม่ถึงเวลาขึ้นดอกเบี้ย เศรษฐกิจยังไม่ฟื้น ขณะ “ธนวรรธน์” มองหากปรับ 2 รอบฉุดจีดีพี 0.3%

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าการขึ้นดอกเบี้ยถือเป็นมาตรการทางการเงิน ซึ่งมองว่าเวลานี้รัฐอาจจะต้องใช้มาตรการทางการคลังก่อน และควรมองถึงการคุมราคาพลังงานเพื่อรักษาการเติบโตของธุรกิจและไม่ทำให้เงินเฟ้อสูงมากเกินไป ซึ่งหากจะมีการขึ้นดอกเบี้ย 0.25% จริงจะกระทบ ต่อ GDP ของประเทศ 0.1%-0.2% ดังนั้นจึงไม่ควรรีบขึ้นดอกเบี้ยในขณะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มองว่าหากมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ และปรับขึ้นครั้งที่ 2 ในช่วงต้นไตรมาสที่ 4 จะดึงเศรษฐกิจให้ย่อตัวลงประมาณ 0.3% ดึงอัตราเงินเฟ้อลงได้ 0.4%-0.5% […]

รมว.คลัง จ่อออกมาตรการช่วยน้ำมันแพง ลั่น ‘คนละครึ่งเฟส 5’ ไม่เหมาะช่วงศก.ฟื้นตัว

กระทรวงการคลัง เตรียมออกมาตรการช่วยเหลือน้ำมันแพง โดยรูปแบบจะเป็นการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด และผู้ได้รับผลกระทบจากราคาพลังงาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างหารือแนวทางกับสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ส่วน โครงการคนละครึ่ง เฟส 5 ไม่ได้ดำเนินการด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปี แต่ใช้งบจากเงินพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน ซึ่งการกู้เงินก็มีเหตุผลที่จะต้องกู้มาเพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ซึ่งสามารถทำได้ อย่างไรก็ดี เมื่อเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวกลับมา ความจำเป็นในการออกมาตรการอาจจะลดน้อยลงไป และเมื่อจะออกโครงการคนละครึ่ง ก็ต้องออกมาตรการช่วยเหลือ ในกลุ่มบัตรคนจนด้วย ซึ่งใช้งบประมาณค่อนข้างมาก ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_3397041

‘ซูเปอร์โพล’ ระบุคนเชื่อมั่นหลังเปิดประเทศ-เศรษฐกิจฟื้นตัว-พอใจนายกฯ

ซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่องความเชื่อมั่น หลังรุกเปิดประเทศ กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.2 เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัว หลังรัฐบาลเปิดประเทศทั้งเรื่องท่องเที่ยว การส่งออก การลงทุนและการจ้างงาน เป็นต้น ขณะที่ร้อยละ 28.8 ไม่เชื่อมั่น นอกจากนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.4 พอใจต่อรัฐบาล ที่สามารถบริหารจัดการพาประเทศผ่านวิกฤติโควิด สู่โรคประจำถิ่น ที่ได้รับการยอมรับจากองค์การระหว่างประเทศได้ดีติดอันดับต้น ๆ ของโลก ในขณะที่ร้อยละ 26.6 ไม่พอใจ ผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนโดยส่วนใหญ่เชื่อมั่นว่า […]

เอกชนเผยส่งออกผลไม้ไปจีนแล้ว60% หลังจีนปลดล็อกมาตรการโควิด-มั่นใจศก.ไทยพลิกฟื้นครึ่งปีหลัง

นายปรัชญา  สมะลาภา ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออก หอการค้าไทย เปิดเผยว่าหลังจากประสบปัญหามาตรการ Zero-Covid ของจีน ทำให้ไทยไม่สามารถส่งออกผลไม้ไปจีนได้ในช่วงแรกนั้น กระทรวงการต่างประเทศและหอการค้าไทย นำโดย นายดอน  ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เข้าไปเจรจากับ นายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของจีน เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำให้การส่งออกผลไม้ของไทยมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดยขณะนี้สามารถระบายผลไม้ได้มากกว่า 60% นอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีการปลดล็อคเรื่อง Ease of Traveling และการยกเลิก Test & Go […]

วิจัยกรุงศรีคาดแบงก์ชาติคงดอกเบี้ยนโยบายถึงสิ้นปี เนื่องจากเศรษฐกิจยังอ่อนแอ

วิจัยกรุงศรี ระบุถึงแนวโน้มการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งจะมีการประชุมในวันที่ 8 มิ.ย. โดยคาดการณ์ว่า กนง.จะไม่รีบปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ แม้อัตราเงินเฟ้อจะอยู่เหนือกรอบเป้าหมาย แต่ไม่ได้กระจายเพิ่มขึ้นเป็นวงกว้าง โดยมีสัญญาณเล็กน้อยของแรงกดดันด้านราคาที่เพิ่มขึ้นในภาคบริการ เนื่องจากอุปสงค์ยังคงอ่อนแอท่ามกลางตลาดแรงงานที่ซบเซา และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเติบโตช้า โดยจีดีพีไตรมาสแรกเติบโตเพียง 2.2% ซึ่งอ่อนแอกว่าเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในภูมิภาค และจากข้อมูลคาดการณ์ของ IMF พบว่าระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยตลอดทั้งปี 2565 จะยังคงต่ำกว่าระดับก่อนเกิดการระบาดของโควิด 1.5% ในขณะที่ประเทศอื่นๆ กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับมาสูงกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาดโควิดราว 1.6-13.4% ที่มา: https://www.matichon.co.th/economy/news_3363571

ไทย จับมือ เปรู ลุยอัพเกรด FTA เร่งปั๊มเศรษฐกิจ -ฟุ้งปี 64 มูลค่าการค้ารวม โต 24 % เกือบ 1.5 หมื่นล้านบาท

ลงนามพิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่4 ภายใต้พิธีสารระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเปรู เพื่อเร่งเปิดเสรีการค้าสินค้าและอํานวยความสะดวกทางการค้า พิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ 4 มีสาระสำคัญ 3 ข้อ ได้แก่ การปรับปรุงและเพิ่มเติมข้อบท กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการค้าในปัจจุบันและในอนาคต เพื่อให้ข้อบทด้านกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย-เปรู มีมาตรฐานสูง เท่าเทียมกับความตกลง FTA ฉบับอื่น ๆ จะช่วยส่งเสริมบรรยากาศทางการค้าและการลงทุนของทั้งสองประเทศต่อไป โดยในปี2564 มูลค่าการค้า2 ฝ่าย ระหว่างไทยและเปรูในปี มีมูลค่าเกือบ 15,700 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อนหน้าถึง 24.06% ซึ่งเป็นผลจากกรอบความตกลงการค้าเสรี หรือ […]

สภาพัฒน์ หั่นเศรษฐกิจปี 65 โตเหลือ 3%

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ปี 2565 ขยายตัว 2.2% จากการส่งออกที่ขยายตัวได้ดี ซึ่งปรับลดลงจากที่ประมาณไว้เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2565 ก่อนที่มีสงครามรัสเซียยูเครน โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ 2.5-3.5% หรือ ค่าเฉลี่ยกลางอยู่ที่ 3% จากเดิมที่คาดไว้ก่อนหน้าจะขยายตัวได้ 3.5-4.5% ซึ่งเศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงจาการยืดเยื้อของสงครามรัสเซียยูเครน ทำให้ราคาน้ำมันแพง ส่งผลต่อเงินเฟ้อสูงถึง 4.2 […]

ดัชนีผลผลิตอุตฯมี.ค.โต อานิสงส์ส่งออกพุ่งสูงสุดรอบ30ปี

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนมี.ค.2565 อยู่ที่ 109.32 ซึ่งนับเป็นค่าดัชนีฯที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2564 แต่ปรับตัวลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ MPI ไตรมาสแรกปี 2565 อยู่ที่ 105.16 ขยายตัว 1.41% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากภาคการส่งออกของไทยขยายตัวต่อเนื่องโดยเฉพาะเดือนมี.ค.ที่ขยายตัว 19.54% สูงสุดในรอบ 30 ปี ขณะเดียวกัน หลายประเทศทั่วโลกรวมถึงไทยได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 และเปิดประเทศส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวมากขึ้นตามลำดับ สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ดัชนีผลผลิตส่งผลบวกในเดือนมีนาคม […]