‘ผู้ว่าธปท.’คาดเศรษฐกิจฟื้นเท่าก่อนโควิด อาจรอไตรมาสแรก’66

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผย สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกสามตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา คาดเศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลาถึงไตรมาสแรกของปี 66 กว่าจะกลับมาสู่ระดับเดิม ขณะเดียวกันต้องเร่งแก้ปัญหาเรื่องสภาพคล่องของเอสเอ็มอี โดยภาครัฐและ ธปท ได้ออกมาตรการฟื้นฟู ส่วนสถาบันการเงิน มีบทบาทในการเชื่อมต่อข้อมูลจากผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่ในการประสานความช่วยเหลือกับคู่ค้ารายย่อย และปรับแนวทางการปล่อยสินเชื่อ ทั้งนี้ธุรกิจเอสเอ็มอีควรปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดและยกระดับการจัดการธุรกิจ โดยนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นเพราะนอกจากจะนำมาใช้บริหารต้นทุน กำไร ยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสถานะทางการเงินธุรกิจอีกด้วย ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/846888

นายกฯ ชี้แจง พ.ร.บ.งบฯ คาด GDP ปี 64 โต 2.5-3.5% ก่อนโตเป็น 4-5% ในปี 65

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้นำเสนอร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 โดยมีหลักการที่สำคัญดังนี้ มีการตั้งงบประมาณรายจ่ายไว้ที่ไม่เกิน 3.1 ล้านล้านบาทสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยรับงบประมาณ และเพื่อชดใช้เงินคงคลัง และชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย ทั้งนี้ การจัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปี 65 นี้ อยู่บนสมมติฐานภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ว่าจะขยายตัวได้ 4-5% ที่มา: https://www.infoquest.co.th/2021/91919

ปรับสปีด ฉีดวัคซีน เร่งอัดอีก 7 แสนล้าน ความหวังฟื้นเศรษฐกิจ

ในห้วงที่ประทศไทยต้องสปีดในการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้ได้ 100 ล้านโดส ตามเป้าหมายในเบื้องต้นของรัฐบาล และต้องเร่งระดมฉีดให้ครอบคลุม 70% ของจำนวนประชากรภายในปีนี้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ นำไปสู่การเปิดประเทศเพื่อให้คนทั้งในประเทศและจากต่างประเทศกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ขณะที่ล่าสุดรัฐบาลเตรียมออก พ.ร.ก. กู้เงินอีก 7 แสนล้านบาท เพื่อใช้ต่อสู้กับโรคโควิด-19 ที่กำลังระบาดรุนแรงในระลอก 3 ที่ต้องทำงานแข่งกับเวลาในการควบคุมโรคให้อยู่ในวงจำกัดภายใน 3 เดือน เพราะไม่เช่นนั้นแล้วงบก้อนใหม่อีก 7 แสนล้านอาจะไม่เพียงพอในการแก้ปัญหา ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/481555

โควิดทำไทยสูญ 2.2 ล้านล้านบาท ‘คลัง’ แจงสถานะการเงินยังแกร่ง ไม่หวั่นหนี้สาธารณะพุ่งแตะ 60%

เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยว่ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ทำให้รายได้ของประเทศ หายไปสูงกว่า 2.2 ล้านล้านบาท และเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยหลังโควิด จะขยายตัวต่ำกว่า 2% ซึ่งต่ำกว่าช่วงปกติก่อนโควิด ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ยืนยันว่าในขณะนี้สถานะทางการคลังของไทยยังแข็งแกร่ง ขณะที่  พ.ร.ก.เงินกู้ 7 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้ระดับหนี้สาธาณะเกินกว่า 60% ต่อจีดีพีเล็กน้อย เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อความยั่งยืนของการคลังในระยะปานกลาง ที่มา: https://www.matichon.co.th/economy/news_2740889

ส่งออก เม.ย.พุ่ง13.09% ‘จุรินทร์’ ชี้พ้นจุดต่ำสุด

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เผย การส่งออกเดือน เม.ย.64 ขยายตัว 13.09% ปรับตัวดีขึ้นมื่อเทียบกับปีก่อน จากข้อมูลยืนยันว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดมาของการส่งออกแล้ว โดยเป้าหมายการส่งออกในปี 64 ตั้งไว้ 4.0% และผ่านมา 4 เดือนพบว่าขยายตัวเกิน 4% แล้ว ซึ่งปัจจุบันมูลค่าการส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนแตะระดับ 20,000 ล้านดอลลาร์ ปัจจัยสำคัญคือ 1.เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว 2.การบริหารจัดการด้านการส่งออกที่ประสบความสำเร็จ ล่าสุดจะเพิ่มตู้สินค้าเอีก 6,000-10,000 ตู้เข้ามา ทั้งนี้ยังผลักดันโดยการรักษาตลาดเดิมไว้ เช่น […]

เศรษฐกิจไทยยังหดตัวต่อเนื่องไตรมาสที่ 5

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/64 หดตัวที่ -2.6% น้อยกว่าที่คาด -3.3% ผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก โดยการส่งออกเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่การที่ไม่สามารถควบคุมการระบาดระลอกใหม่ได้ยังคงส่งผลกระทบต่อการบริโภคและภาคการท่องเที่ยวอย่างมาก ทั้งนี้ได้ประมาณการเศรษฐกิจปี 64 ที่ 1.8% จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ท่ามกลางอัตราการฉีดวัคซีนที่ยังอยู่ในระดับต่ำซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นและพฤติกรรมของผู้บริโภค ทั้งนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้ราคาสินค้าพุ่งสูง ทำให้เงินเฟ้อไทยเพิ่มงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้ค่าครองชีพของครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่มา: https://www.posttoday.com/finance-stock/news/653682

กังวลกู้ 7 แสนล้าน ดันหนี้สาธารณะใกล้แตะเพดาน 60%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จัดทำบทวิเคราะห์ “พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มเติม 7 แสนล้านบาท…สร้างความยืดหยุ่นในการบริหารการคลัง ภายใต้สถานการณ์โควิดที่ยังไม่แน่นอนสูง” โดยระบุว่าการกู้เงินเพิ่มจะส่งผลให้ระดับหนี้สาธารณะของไทยเข้าใกล้เพดานหนี้ที่ 60% ของ GDP เร็วขึ้น และจำเป็นต้องขยายเพดานหนี้สาธารณะในระยะเวลาอันใกล้ ซึ่งระดับหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือน มี.ค. 2564 อยู่ที่ 54.3% ของ GDP ขณะที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า หนี้สาธารณะ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 จะอยู่ที่ราว 58.7-59.6% ของ […]

เตือนหนี้ครัวเรือนไทยทำนิวไฮ 92% ระเบิดเวลาเศรษฐกิจไทย

นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ หัวหน้าทีมนักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงสถานการณ์เศรษฐกิจไทยภายใต้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 โดยคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตระดับ 1-2% หรืออาจน้อยกว่านี้หากรัฐบาลไม่สามารถกระจายวัคซีนได้ตามเป้าหมายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะยิ่งซ้ำเติมประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มฐานรากที่มีปัญหาหนี้สินอยู่ก่อนแล้วให้เพิ่มพูนมากขึ้น สะท้อนต่อหนี้ครัวเรือนไทยปีนี้ให้ปรับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ระดับหนี้ครัวเรือนของไทยจะแตะร้อยละ 92 แล้วเพิ่มขึ้นจากหนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 4 ปี 2563 สูงเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ร้อยละ 89.3 ของจีดีพี ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2733197

สรุป ‘เศรษฐกิจไทย’ ไตรมาส1/64 GDP ขยับเป็น -2.6 จากเดิม -6.1

ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ปี 64 และแนวโน้มปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5-2.5 โดยได้แรงสนับสนุนสำคัญจากการกลับมาขยายตัวของการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ทั้งนี้เมื่อดูค่า GDP ประเทศภายในภูมิภาคอาเซียนพบว่า GDP เติบโตที่สุดในอาเซียนคือ เวียดนามขยายตัวร้อยละ 4..5 โดยปัจจัยสำคัญคือนโยบายของการป้องกัน และควบคุมโรคระบาดภายในประเทศทำให้เศรษฐกิจกลับมาอยู่ในสภาวะปกติได้เร็วจึงทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้อีกครั้งภายหลังต้องหยุดชะงักไปจากการระบาดโควิด-19 ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/939207

สภาพัฒน์หั่นจีดีพีปี 64 เหลือ 1.5-2.5% พิษโควิดฉุดช็อป เสื้อผ้า รองเท้า ท่องเที่ยวทรุด

สภาพัฒน์หั่นจีดีพีปี 64 เหลือ 1.5-2.5% จากเดิมที่คาดว่าเศรษฐกิจจะมีการเติบโตที่ 2.5-3.5% หลังไตรมาส 1 ปี 2564 จีดีพีหดตัว 2.6% จากผลกระทบโควิด-19 ซึ่งเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างช้าๆ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก การใช้จ่ายภาครัฐ และการปรับตัวตามฐานการขยายตัวที่ต่ำ ผิดปกติในปี 2563 คาดว่ามูลค่าจะขยายตัว 10.3% ขณะที่การอุปโภคบริโภคขยายตัว 1.6% และการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัว 4.3% ส่วนการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัว 9.3% ซึ่งภาคการท่องเที่ยวและบริการหดตัวมากถึง 63.5% หั่นเป้านักท่องเที่ยวทั้งปีเหลือ […]