‘จุรินทร์’ ปลื้มส่งออกพลิกศก.ไทย ชี้เดินมาถูกทาง หลังตัวเลข 7 เดือนทะลุเป้าแล้ว 4 เท่า

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายในงานสัมมนา “ปลุกพลังส่งออก พลิกเศรษฐกิจไทย” และกล่าวปาฐกถาพิเศษ “ความหวังส่งออกไทย ในมรสุมโควิด” จัดขึ้นโดยหนังสือพิมพ์มติชน ว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยถือว่าเดินมาถูกทางแล้ว เพราะว่าที่ผ่านมาไทยไม่ได้พึ่งพาเศรษฐกิจขาเดียว แต่พึ่งพา 2 ขา คือ ภาคการท่องเที่ยว และภาคการส่งออก ดูได้จากตัวเลขการส่งออกที่มีอัตราการเติบโตอย่างชัดเจน โดยภาพรวมการส่งออกในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา หรือระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2564 มีการเติบโตมูลค่ากว่า 1.54 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว […]

หนี้สาธารณะ70% ไม่สะเทือนการคลัง จับตารัฐขยายฐานภาษี-เพิ่มรายได้

“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ระบุ สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนนำมาสู่การขยายกรอบเพดานหนี้สาธารณะไม่เกิน 70% ต่อจีดีพี จะไม่กระทบเสถียรภาพทางการคลังในระยะสั้น โดยรัฐบาลยังสามารถชำระหนี้ตามกำหนดได้ โดย ณ เดือน ก.ค. 2564 สัดส่วนหนี้ในประเทศอยู่ที่ 98.2% ของหนี้สาธารณะรวม ทำให้สัดส่วนหนี้ต่างประเทศในหนี้สาธารณะอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่ใน 3-5 ปีข้างหน้า ภาครัฐต้องสร้างความเชื่อมั่น โดยเฉพาะผู้ที่ถือพันธบัตรรัฐบาลเชื่อมั่นว่าจะสามารถบริหารหนี้สาธารณะให้กลับมายั่งยืน นั่นหมายถึงการขาดดุลการคลังต้องลดลงจนเข้าสู่สมดุลในที่สุด ทั้งนี้ ท่ามกลางรายจ่ายงบประมาณที่ปรับลดได้อย่างจำกัด ดังนั้น รัฐจึงต้องมีความสามารถในการจัดหารายได้ โดยเฉพาะภาษีที่อาจจะต้องหาฐานภาษีใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มเพื่อให้พอต่อการลดการขาดดุลการคลัง ที่มา: https://www.dailynews.co.th/news/296881/

คลังตั้งท่ากู้เพิ่ม ปรับเพดานหนี้70%รองรับแล้ว

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลังเปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2564 คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐได้มีมติเห็นชอบให้มีการทบทวนกรอบสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) จากเดิมต้องไม่เกิน 60% ขยายเป็น 70% เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ทางการคลังให้กับรัฐบาล และไม่เป็นอุปสรรคหากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อดำเนินนโยบายการคลังในระยะปานกลาง โดยยังคงมีความสามารถในการชำระหนี้อยู่ในเกณฑ์ดี ก่อนหน้านี้ หลายๆ ฝ่าย อาทิ ผู้บริหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) นักวิชาการ ฯลฯ ได้แสดงท่าทีสนับสนุนการขยายเพดานหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) รองรับผลกระทบจากโควิด โดยมองว่าเสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังค่อนข้างดี การใช้เงินจากการกู้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นการสร้างรายได้และการเติบโตในช่วงโควิด ที่มา: https://www.naewna.com/business/603523

สธ.ถกร่วมภาคธุรกิจเตรียมเปิดประเทศฟื้นฟูเศรษฐกิจ

นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุม “เปิดประเทศ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ อย่างไรให้ปลอดภัย” เพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจกับการเตรียมความพร้อมในการเปิดพื้นที่ ที่ต้องทำควบคู่กับการป้องกันควบคุมโรค ซึ่งการหารือในครั้งนี้เป็นการหารือร่วมกับสภาหอการค้าไทย และกรมอนามัย เพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจในการเปิดประเทศเตรียมความพร้อมในการป้องกันควบคุมโรค และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม รวมถึงมาตรการสำหรับผู้มาใช้บริการ โดยในส่วนของ สภาหอการค้าไทย จะต้องทำความเข้าใจกับสมาชิก ในกิจการแต่ละประเภท ซึ่งหากเข้าเกณฑ์และเงื่อนไข ผู้ประกอบกิจการสามารถเตรียมที่จะเปิดกิจการได้เลย ที่มา : https://www.thansettakij.com/business/496619

ตลาดแรงงานฟื้นแล้ว หลังคลายล็อก/รับรง.ติดเชื้อ 6.7 หมื่นคน

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดแรงงานไทยจะค่อยๆ ฟื้นตัวมากขึ้นหลังจากที่รัฐได้ผ่อนคลายมาตรการ แต่ยังคงเปราะบางเนื่องจากตลาดแรงงานส่วนหนึ่งอยู่ในภาคการค้าบริการและการท่องเที่ยวที่มีแรงงานกว่า 18 ล้านคน ที่อาจต้องใช้เวลาถึงปี 2566 จึงจะกลับไปสู่ภาวะปกติช่วงก่อนการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 แต่มีสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสะท้อนจากการนำเข้าสินค้าทุนเดือนก.ค.ที่ผ่านมาขยายตัว 35.4% สูงสุดในช่วง 7 เดือน ทำให้การจ้างงานเริ่มกลับมา พร้อมเสนอว่ารัฐควรจำเป็นต้องเร่งอัดฉีดเงินเข้าระบบเพิ่มขึ้นในช่วงท้ายปีนี้เพื่อกระตุ้นการบริโภคและการจับจ่าย ทั้งนี้ จากข้อมูลของ ศบค.อก. วันที่13 ก.ย. 2564 พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสถานประกอบกิจการโรงงาน ทั้งสิ้น 67,281 คนรักษาหายแล้ว […]

กรุงไทยคาด กนง. ยังคงดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุม 29 ก.ย. นี้ แต่มีแนวโน้มปรับลดครั้งถัดไป หากการแพร่ระบาดยังรุนแรง

พูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย ประเมินว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 29 กันยายนนี้ จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% แม้ว่าในการประชุมรอบที่ผ่านมา กนง. จะปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้จาก 1.8% ลงมาเหลือ 0.7% และมีแนวโน้มที่จะปรับลดเพิ่มเป็น 0.4-0.5% ในการประชุมรอบนี้ แต่จะยังไม่มีน้ำหนักมากพอที่จะโน้มน้าวให้คณะกรรมการที่โหวตคงดอกเบี้ยในครั้งก่อนเปลี่ยนใจมาโหวตลดดอกเบี้ย โดยเชื่อว่า กนง. จะเลือกรอดูทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจต่อไปอีกระยะหนึ่ง ที่มา: https://thestandard.co/ktb-fixed-interest-at-0-5percent/

ความเชื่อมั่นอุตฯหัวทิ่ม กังวลโควิดระบาด-ศก.แย่-การเมืองร้อน

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2564 อยู่ที่ระดับ 76.8 ลดลงจากระดับ 78.9 ในเดือนกรกฎาคม 2564 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 16 เดือน นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 และปรับตัวลดลงในทุกภูมิภาคและทุกขนาดอุตสาหกรรม ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ คือ ภาครัฐยกระดับมาตรการควบคุมโควิด-19 เข้มงวดมากขึ้น รวมทั้งขยายพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเป็น 29 จังหวัด บังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ตลอดเดือนสิงหาคม ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง ขณะที่การแพร่ระบาดในโรงงานอุตสาหกรรมยังไม่คลี่คลายทำให้กำลังการผลิตลดลงและการส่งมอบสินค้าล่าช้าโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก […]

เศรษฐกิจก.ค. สาหัส-เอกชนงดบริโภค ลงทุน ด้านส่งออกเริ่มแผ่ว แบงก์ชาติไม่การันตี คลายล็อกดาวน์ 1 ก.ย. คนจะเชื่อมั่นเพิ่ม

น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในเดือนก.ค. 64 ได้รับผลกระทบมากขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยการบริโภคภาคเอกชนลดลงตามกำลังซื้อที่อ่อนแอ และมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้น ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม รายได้ครัวเรือน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับลดลง ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนก็ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนเช่นกัน  ด้านการส่งออกแผ่วลงจากอุปสงค์ประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัวตามการแพร่ระบาดที่รุนแรงขึ้นในบางประเทศ และการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งกระทบต่อการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า แม้จะมีการคลายล็อกดาวน์ 1 ก.ย. ก็ยังคาดว่าจะเริ่มคลี่คลายช่วงปลายไตรมาส 3/64 แต่ก็ยังต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ และจะปรับประมาณการอีกครั้งในรอบต่อไป ที่มา: https://www.khaosod.co.th/economics/news_6594028

คลังชี้เศรษฐกิจ‘ก.ค.’ชะลอ ยอดขายปูนซีเมนต์/รถยนต์ลด

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนก.ค. 64 พบว่า เศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากการใช้จ่ายของภาคเอกชนที่มีสัญญาณชะลอลง อันเป็นผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้ายังคงขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ทั้งนี้ การลงทุนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน -12.0% ต่อปี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การก่อสร้างชะลอตัว สอดคล้องกับภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ลดลงที่ -11.6% ต่อปี ที่มา: https://www.naewna.com/business/598660

คลังปั๊ม ‘GDP’ ปีหน้าโต 4-5% ทยอยเปิดกิจกรรมเศรษฐกิจกระตุ้น

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลังกล่าวในงานสัมมนา Thailand Focus 2021: Thriving in the Next Normal เมื่อวันที่ 25 ส.ค.64 ในหัวข้อ “สร้างความพร้อมประเทศไทย สู่โอกาสทางเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด-19”ว่า ในปีหน้ารัฐบาลมีแผนที่จะทุ่มสรรพกำลังและทรัพยากรเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยที่ผ่านมาใช้โมเดลภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ และสมุยพลัส ที่ขณะนี้ขยายไปครอบคลุมนักท่องเที่ยวจากจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ของไทย การระบาดที่ลดลงจะทำให้รัฐบาลสามารถหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ 4-5% ได้ภายในปีหน้า ที่มา : https://www.naewna.com/business/597578