นักวิเคราะห์ หั่นจีดีพีปีนี้ โต 0.6% มองปัญหาการเมือง กดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลสำรวจนักวิเคราะห์ ปรับลดคาดการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือ 0.6% แต่ในไตรมาสที่ 4 มีแนวโน้มฟื้นตัวจากแรงหนุนทั้งนโยบายด้านการคลังและการเงิน รวมถึงการฉีดวัคซีนที่คืบหน้าไปมากและการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค ส่งผลให้กำลังซื้อเริ่มฟื้นตัว โดยภาคการผลิตมีแนวโน้มฟื้นตัวได้เร็วกว่าธุรกิจในภาคที่มิใช่การผลิต จากการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ตาม การขาดแคลนชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ค่าระวางเรือและราคาพลังงานที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงปัจจัยในประเทศ อาทิ ปัญหาหนี้ครัวเรือน ความไม่แน่นอนทางการเมือง กดดันให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง ที่มา: https://www.matichon.co.th/economy/news_3011199

EIC-วิจัยกสิกรฯ มองส่งออกฟื้นหลังโควิดคลี่คลาย-บาทอ่อนหนุน คาดทั้งปีโตเกิน 12%

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ระบุว่า กระทรวงพาณิชย์ รายงานมูลค่าการส่งออกเดือนก.ย. 64 ขยายตัว 17.1%YOY ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องในทุกสินค้า และตลาดสำคัญ ตามสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ของโลกที่ปรับดีขึ้นชัดเจนในช่วงเดือนก.ย. ส่งผลให้อุปสงค์มีการฟื้นตัว อีกทั้งผลกระทบจากการหยุดผลิตที่เกิดจากการระบาดโควิด-19 ก็ปรับดีขึ้นเช่นกัน ที่มา: https://www.infoquest.co.th/2021/139399

ชมผ่อนคลายมาตรการสินเชื่ออสังหาฯ กระตุ้นศก.ไทยคึก

ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต เปิดเผยว่า สนับสนุนการผ่อนคลายมาตรการสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดกระตุ้นในเกิดธุรกรรมซื้อขาย การจ้างงานและการลงทุนเพิ่มขึ้นในช่วงหนึ่งปีข้างหน้า การประกาศมาตรการผ่อนคลายการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ LTV ชั่วคราวจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีนี้และต่อเนื่องไปถึงปีหน้า คาดว่า ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ภาคก่อสร้างและธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้าง รวมทั้ง โรงแรมและรีสอร์ทในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่มีปัญหาสภาพคล่องและไม่สามารถดำเนินการธุรกิจต่อได้ จะถูกเปลี่ยนมือเป็นผู้ลงทุนรายใหม่ได้ง่ายขึ้น ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/news/666310

สารพัดปัจจัย รุมเร้าเศรษฐกิจไทย

การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยที่ยาวนานเกือบ 2 ปี ส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรง โดยกระทบกับสังคมทุกระดับ ซึ่งทำให้หลายฝ่ายประเมินว่าอาจต้องใช้เวลาถึงปี 2566 เป็นอย่างน้อย กว่าที่ทุกอย่างกลับมาอยู่ในระดับปกติ ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจไทยทรุดหนักในรอบ 20 ปี โดยไตรมาส 2/63 เศรษฐกิจไทยต้องติดลบถึง 12.2% อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อรายจ่ายและกำลังซื้อของผู้บริโภค ซึ่งทำให้กำลังซื้อมีแนวโน้มลดลงในภาวะที่รัฐบาลต้องการแรงผลักดันจากเครื่องจักรทุกตัวเพื่อช่วยผลักดันเศรษฐกิจ ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/business/967726

IMF หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจเอเชียโต 6.5% ปีนี้ ขณะคาดไทยขยายตัว 1%

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประกาศปรับลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจเอเชียในปีนี้ ขณะที่เตือนว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่, ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน และแรงกดดันจากเงินเฟ้อ จะสร้างความเสี่ยงในช่วงขาลงต่อแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเอเชีย สำหรับประเทศไทยนั้น IMF คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะมีการขยายตัว 1.0% และ 4.5% ในปีนี้และปีหน้าตามลำดับ ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ในเดือนเม.ย.ที่ระดับ 2.6% และ 5.7% ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2021/137321

คาดท่องเที่ยวฟื้นจริงเห็นผลชัดปี 65

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบไม่กักตัว ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2564 นับเป็นหมุดหมายสำคัญที่สะท้อนถึงความพยายามจากทุกภาคส่วนที่จะพลิกฟื้นภาคการท่องเที่ยวให้กลับมาเดินหน้าต่อได้อย่างไรก็ดี เนื่องจากสถานการณ์โควิดในประเทศที่แม้จะนิ่งขึ้น แต่ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ อีกทั้งนโยบายและข้อกำหนดการเดินทางออกนอกประเทศที่เป็นต้นทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงคาดว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางมาไทยในช่วง พ.ย. – ธ.ค. 64 อาจจะเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยน่าจะเห็นผลที่ชัดเจนมากขึ้นในช่วงปลายเดือนธ.ค. นี้ น่าจะช่วยให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้ เพิ่มขึ้นประมาณ 64% สร้างรายได้คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1.35 […]

แบงก์ชาติ ชี้ 3 ปัจจัยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทย ปรับลดนักท่องเที่ยวปีหน้าเหตุเปิดบินปกติไม่ได้

นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ธปท. กล่าวว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาส 3/2564 โดยคาดว่าในปี 2564 จะขยายตัว 0.7% ขณะที่ปี 2565 ขยายตัวได้ 3.9% การฟื้นตัวก็ยังมีความไม่แน่นอนค่อนข้างสูงขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย 1.มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 อาจจะมีผู้ติดเชื้อสูงขึ้นหลังจากผ่อนคลายมาตรการ 2.ความต่อเนื่องมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ จะกลับมาเร่งขึ้นในไตรมาสที่ 4 จากมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว ต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า และ 3.ปัจจัยจากต่างประเทศ ทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวและภาคการส่งออก ได้ปรับลดจำนวนนักท่องเที่ยว ปี 2565 เหลือ […]

หอการค้าเปิดปัจจัยบวก-ลบ ศก.ไทยโค้งสุดท้าย “น้ำมันแพง-น้ำท่วม”ถ่วงจีดีพี

นายสนั่น  อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เผย ปัจจัยบวก-ปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ว่า ด้านปัจจัยบวกคือ วัคซีนเข้ามาขึ้นมาก จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลง รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ โดยมีการผ่อนคลายกิจการและขายเวลาการเปิดดำเนินการเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ภาคการส่งออกมีโอกาสเติบโตสูง น่าจะขยายตัวได้ 12-14% ซึ่งล่าสุด ได้ปรับการขยายตัวของจีดีพีปี 64 จะขยายตัวได้ 0% ถึง 1% จากเดิมคาด -0.5% ถึง […]

จับตา“น้ำท่วม-น้ำมันแพง-บาทอ่อน” ถ่วงเศรษฐกิจไทยรับเปิดประเทศ

นายเกรียงไกร  เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ชี้ปัจจัยเสี่ยงรับเปิดประเทศมีอื้อ ทั้งน้ำท่วมกระทบเศรษฐกิจ 1.5 หมื่นล้าน หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 0.1% ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นแตะ 80 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล แพงดันราคาสินค้าในประเทศและนำเข้าจ่อพุ่งยกแผง เงินเฟ้อสูง บาทอ่อนค่ากระทบนำเข้าสินค้าพลังงาน เครื่องจักรเทคโนโลยีปรับเปลี่ยนการผลิต และการฟื้นฟู ศก. จี้รัฐดูแลให้เสถียร ที่มา: https://www.thansettakij.com/economy/500000

กกร.ปรับประมาณการณ์ปีนี้จีดีพีไทยขยายตัว 0%-1%

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ว่า กกร. ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไทย ปี 2564 ดีขึ้นมาอยู่ในกรอบ 0.0-1% จากเดิมติดลบ 0.5-1% แต่ยังต้องติดตามสถานการณ์น้ำท่วมและตัวเลขการติดเชื้อหลังผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ไปอีกระยะ ส่วนการส่งออก กกร. คาดว่าจะขยายตัว 12.0-14.0% จากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดี ภายใต้เงื่อนไขค่าระวางเรือที่ไม่สูงจนเกินไป สามารถควบคุมการระบาดในกลุ่มแรงงานภาคอุตสาหกรรมได้ และการฉีดวัคซีนให้แรงงานได้ทั่วถึง ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบ 1.0-1.2% ที่มา […]