ดึงชาวฮ่องกงซื้ออสังหาไทย DITP จัดโปรโมทผ่านสื่อออนไลน์

นางชณันภัสร์ พิศาลอภิพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองฮ่องกง กล่าวว่า สำนักงานฯ ได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยในตลาดฮ่องกง ในหัวข้อ Property Investment in นำเสนอในรูปแบบ Virtual Showcase ผ่านระบบเครือข่ายดิจิทัลผ่านสื่อออนไลน์ โดยมีผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ซึ่งสำนักงานฯได้ใช้โอกาสนี้ ประชาสัมพันธ์ให้ชาวฮ่องกงซื้ออสังหาริมทรัพย์ในไทย เพื่อใช้เป็นบ้านหลังที่ 2 และผ่อนระยะยาว เพราะปัจจุบันอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกงมีราคาสูงมาก ยากต่อการเป็นเจ้าของ ประกอบกับชาวฮ่องกงมีความต้องการที่จะย้ายถิ่นฐานออกไปต่างประเทศ จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะจับตลาดลูกค้าชาวฮ่องกงได้เพิ่มขึ้น ที่มา: https://www.naewna.com/business/610016

คาดรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ กระตุ้นอสังหาฯ เตาปูน-ราษฎร์บูรณะกว่า 8 หมื่นล้าน

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า การลงทุนในโครงการพัฒนารถไฟฟ้าสายสีม่วงตอนใต้ หรือเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 1.1 แสนล้านบาทของภาครัฐ นอกจากจะเป็นการขยายโครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล ยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงระยะเวลาก่อสร้างราว 5 ปี ซึ่งส่งผลบวกต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง ส่วนในอนาคต เมื่อการระบาดของโควิดคลี่คลาย คาดว่าการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงตอนใต้จะทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยมีมูลค่าการพัฒนาเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 80,000 ล้านบาท เช่นเดียวกับที่ผ่านมา ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/feature/2221321

โควิดระลอก 4 ฉุดราคาอสังหาฯไตรมาส 3 ร่วงต่อ

นายวิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ดัชนีราคาบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขาย ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไตรมาส 3 ปี 2564 ดัชนีเท่ากับ 127.2 ลดลง 0.7% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงของบ้านจัดสรรต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 และเมื่อเทียบไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีราคาบ้านจัดสรรลดลง 0.5% การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาบ้านจัดสรรใหม่ที่ลดลงสะท้อนผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 4 ทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้าโดยเฉพาะเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่ตลาดที่อยู่อาศัยหลัก เห็นชัดว่าผู้ประกอบการกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าว ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/business/965257

ก่อสร้างปีหน้าโตอีก ‘EIC’ยันเมกะโปรเจกท์หนุน

EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดทำบทวิเคราะห์ เรื่อง “ส่องอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยช่วงที่เหลือของปี 2021 และแนวโน้มปี 2022” โดยคาดว่า มูลค่าการก่อสร้างภาครัฐในปีนี้ จะอยู่ที่ราว 806,000 ล้านบาท +6% (เมื่อเทียบปีต่อปี YoY) ส่วนปีหน้า มีแนวโน้มขยายตัว 6%YoY จากความคืบหน้าของโครงการเมกะโปรเจกท์ที่ก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ทั้งโครงการขยายเส้นทางรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง โครงการขยายสนามบิน และโครงการทางถนน อย่างไรก็ตามการก่อสร้างภาคเอกชนยังมีชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยและเชิงพาณิชย์ โดย EIC คาดว่ามูลค่าการก่อสร้างภาคเอกชนในปีนี้อยู่ที่ราว 514,000 […]

ล็อกดาวน์ส่งผลกระทบแรงงานเกือบ 7 แสนคน รวมถึงบริษัทอสังหาริมทรัพย์

นายวัชระ ศิริฤทธิชัย ผู้จัดการทั่วไป บริษัท นิปปอนเพนต์ เดคโคเรทีฟ โคทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสีนิปปอนเพนต์ เปิดเผยว่า จากการล็อกดาวน์คลัสเตอร์แคมป์คนงานก่อสร้างในพื้นที่สีแดงเข้มเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดอย่างหนักของโควิด-19 ที่ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อทะลุหมื่นรายต่อวัน พบว่ากว่า 20 วันที่ผ่านมา มีคนงานก่อสร้าง ได้รับผลกระทบเกือบ 700,000 คน รวมถึงบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างทั้งรายใหญ่ รายกลาง และรายเล็กอีกนับพันแห่ง ที่เกี่ยวข้องคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 100,000 ล้านบาท แม้ภาครัฐจะมีมาตรการเยียวยาช่วยเหลือผู้ประกอบการ รวมถึงแรงงานทั้งในและนอกระบบประกันสังคม แต่ก็ไม่เพียงพอกับการใช้ชีวิต […]

อสังหาฯ หวั่นเจ็บแต่ไม่จบแนะ 3 แผนสกัด

นายอธิป พีชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า มาตรการล็อกดาวน์ในครั้งนี้ รัฐบาลต้องวางแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนว่า ระหว่างล็อกดาวน์ 14 วัน โดยมี 3 วาระที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน คือ 1.จัดให้มีการตรวจคัดกรองให้มากที่สุด 70 -80% ของคนในพื้นที่ ของประชาชนให้้มีโอกาสได้ตรวจคัดกรองในราคาที่ไม่แพง 2.เร่งฉีดวัคซีนในพื้นที่สีแดง ป้องกันการติดเชื้อเพิ่มขึ้น และ 3.เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ จะดูแลอย่างไร เพราะสุดท้ายต้องกลับภูมิลำเนาทำให้เกิดการแพร่เชื้อในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/948347

พิษโควิดฉุดอสังหาฯ เขตอีอีซี ค้างสต๊อก 2.2 แสนล้าน

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เผย แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ในปี 64 มีทิศทางชะลอตัวลงชัดเจนจากผลกระทบการแพร่ระบาดไวรัสโควิด ทำให้ยอดขายหดตัวลงทั้งจำนวนและมูลค่า จนคาดว่าจะมีที่อยู่อาศัยเหลือค้างสต๊อกมากถึง 68,170 หน่วย มูลค่า 2.21 แสนล้านบาท ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/845527